วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม

ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม

ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรมมีผู้ให้ความหมายไว้หลายทัศนะ ดังนี้
แสง จันทร์งาม(2522, หน้า 218) ให้ความหมายคุณธรรม หมายถึง คุณภาพจิตฝ่ายดีที่ควบคุมให้คนมีความประพฤติดี
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี(2524,หน้า 82) ให้ความหมายคุณธรรม หมายถึง คุณภาพของจิตใจที่เข้าถึงความดีงามขั้นสูง ซึ่งเป็นขั้นที่อยู่เหนือสภาพของสังคม สิ่งแวดล้อมเป็นคุณงามความดีในตัวของมันเอง
สาโรช บัวศรี (อ้างถึงใน วาสนา ประวาลพฤกษ์,2535,หน้า2) ให้ความหมาย คุณธรรม หมายถึง ความเชื่อของบุคคลส่วนใหญ่เป็นสิ่งงดงามที่จะส่งผลให้เกิดการกระทำที่เป็นประโยชน์และความดีที่แท้จริงต่อสังคม
จากความหมายคุณธรรมและจริยธรรมตามทัศนะที่กล่าวมาแล้ว คำว่า คุณธรรม จริยธรรมที่มีความหมายใกล้เคียงกันหรืออาจใช้แทนกันได้ ความหมายโดยรวมของคำทั้งสองนี้ หมายถึง ความประพฤติที่ดีงาม อันมีรากฐานเริ่มต้นจากปรัชญาความคิดที่ถูกต้อง ประกอบกับมีค่านิยมที่ถูกต้อง และเมื่อประพฤติแล้วเป็นเหตุก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีงามทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น คุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องควบคุมและกำกับการประพฤติของคนในสังคม ให้มีความรู้สึกนึกคิดและแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม ก่อให้เกิดประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเอง ผู้อื่น และสังคมส่วนรวม จุดมุ่งหมายสูงสุดของการมีคุณธรรมจริยธรรมในสังคม ให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติและมีความสุข (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,2545,หน้า 62)
ทฤษฎีทางจริยธรรม Thomas (อ้างถึงใน ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ,2543,หน้า 169-170) ได้กล่าวถึงจริยธรรมว่า เป็นสิ่งที่ไม่ได้ติดมาแต่กำเนิด แต่จริยธรรมเกิดจากสิ่งแวดล้อมสังคมเป็นสำคัญ ทั้งจากครอบครัว เพื่อน โรงเรียน สื่อ ล้วนมีอิทธิพลในการพัฒนา จริยธรรม โดยองค์ประกอบที่มีปฏิบัติ