วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม

ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม

ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรมมีผู้ให้ความหมายไว้หลายทัศนะ ดังนี้
แสง จันทร์งาม(2522, หน้า 218) ให้ความหมายคุณธรรม หมายถึง คุณภาพจิตฝ่ายดีที่ควบคุมให้คนมีความประพฤติดี
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี(2524,หน้า 82) ให้ความหมายคุณธรรม หมายถึง คุณภาพของจิตใจที่เข้าถึงความดีงามขั้นสูง ซึ่งเป็นขั้นที่อยู่เหนือสภาพของสังคม สิ่งแวดล้อมเป็นคุณงามความดีในตัวของมันเอง
สาโรช บัวศรี (อ้างถึงใน วาสนา ประวาลพฤกษ์,2535,หน้า2) ให้ความหมาย คุณธรรม หมายถึง ความเชื่อของบุคคลส่วนใหญ่เป็นสิ่งงดงามที่จะส่งผลให้เกิดการกระทำที่เป็นประโยชน์และความดีที่แท้จริงต่อสังคม
จากความหมายคุณธรรมและจริยธรรมตามทัศนะที่กล่าวมาแล้ว คำว่า คุณธรรม จริยธรรมที่มีความหมายใกล้เคียงกันหรืออาจใช้แทนกันได้ ความหมายโดยรวมของคำทั้งสองนี้ หมายถึง ความประพฤติที่ดีงาม อันมีรากฐานเริ่มต้นจากปรัชญาความคิดที่ถูกต้อง ประกอบกับมีค่านิยมที่ถูกต้อง และเมื่อประพฤติแล้วเป็นเหตุก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีงามทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น คุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องควบคุมและกำกับการประพฤติของคนในสังคม ให้มีความรู้สึกนึกคิดและแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม ก่อให้เกิดประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเอง ผู้อื่น และสังคมส่วนรวม จุดมุ่งหมายสูงสุดของการมีคุณธรรมจริยธรรมในสังคม ให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติและมีความสุข (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,2545,หน้า 62)
ทฤษฎีทางจริยธรรม Thomas (อ้างถึงใน ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ,2543,หน้า 169-170) ได้กล่าวถึงจริยธรรมว่า เป็นสิ่งที่ไม่ได้ติดมาแต่กำเนิด แต่จริยธรรมเกิดจากสิ่งแวดล้อมสังคมเป็นสำคัญ ทั้งจากครอบครัว เพื่อน โรงเรียน สื่อ ล้วนมีอิทธิพลในการพัฒนา จริยธรรม โดยองค์ประกอบที่มีปฏิบัติ

 
สัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อมมี 4 อย่าง คือ
1. ความถี่ของประสบการณ์เด็กจากสิ่งแวดล้อม
2. ชีวิตเด็กในจุดใดที่สิ่งแวดล้อมให้ประสบการณ์
3. ต้นแบบของคนในสังคมที่อาศัยอยู่
4. ผลพวงของการแสดงออกทางจริยธรรมในสังคมนั้น
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2543, หน้า 170-176) ได้สรุปทฤษฎีพัฒนาจริยธรรม ไว้ 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ทฤษฎีทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
องค์ประกอบที่สำคัญในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (Freud) คือ อิด (id) อีโก้ (ego) และซุปเปอร์อีโก้ (superego) id เป็นแหล่งพลังงานทางจิตเบื้องต้น และเป็นที่ตั้งแห่งสัญชาตญาณ เป็นความต้องการแสวงหาเพื่อตนเอง ต่อมาก็มี ego (อีโก้) เป็นผู้ควบคุมพฤติกรรมของ id (อิด) ego อาศัยหลักแห่งความจริงคือ สิ่งที่ปรากฏอย่างแท้จริง จากนั้นจะมีการเรียนรู้พัฒนาขึ้นมา การเรียนรู้ทำให้ฉลาด สามารถเป็นนายเหนือความอยากอันเกิดแก่ id การเรียนรู้อาศัยการรับรู้ ความจำ ความคิด และส่งเสริมให้ ego เข้มแข็ง ซุปเปอร์เป็นลักษณะที่สาม เป็นหลักแห่งอุดมคติและศีลธรรมจรรยา ซุปเปอร์อีโก้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. Ego-ideal คือ อุดมคติ เป็นแนวคิดของผู้ใหญ่ สังคมที่สอนไว้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควร และเมื่อประพฤติตามแล้ว จะเป็นที่นิยมชมชอบของผู้ใหญ่ในสังคม
2. Conscience คือมโนธรรม ได้แก่ ความรู้สึกว่า อะไรดีควรทำ อะไรชั่วควรเว้น ในขั้นนี้เด็กจะพัฒนาจากการที่เด็กเคยกระทำผิดอยู่ในใจ เช่น ผู้ใหญ่สอนให้
เกลียดชัง ความสกปรก ถ้าเราไปนิยมก็จะได้รับโทษ เราจึงเว้นเสีย บุคคลในระดับนี้จะเคร่งต่อหลักศีลธรรมเป็นอันมากเป็นส่วนสำคัญที่ป้องกันการกระทำความผิด
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory)
ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่ากฎเกณฑ์ของสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดการพัฒนาจริยธรรม ทฤษฎีนี้พยายามอธิบายกระบวนการเรียนรู้ โดยหลักการเสริมแรงและหลักการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ปรากฏการณ์ของสังคม
สกินเนอร์ (Skinner อ้างถึงใน ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ,2543,หน้า 171 ) มีความเชื่อว่าแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพัฒนาการทางสังคมมีรากฐานมาจากความต้องการรางวัลและหลีกเลี่ยงการลงโทษจากสังคม การพัฒนาจริยธรรมจึงมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมที่สังคมยึดถือ บรรทัดฐานหรือเกณฑ์ปกติของจริยธรรมพื้นฐานเกิดขึ้นภายในจิตใจ
ทฤษฎีทางสติปัญญา (Cognitive Theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อเรื่องกิจกรรมทางสมองของแต่ละบุคคลมีความสำคัญกว่าพฤติกรรมอันเกิดจากอิทธิพลของสังคมภายนอก กิจกรรมทางสมองเป็นกระบวนการทางสติปัญญา ซึ่งรวมทั้งกรรับรู้ ความจำ และการพิจารณาตัดสิน ทฤษฎีทางสติปัญญามีทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของพีอาเจท์ และทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของพีอาเจท์
Piaget (อ้างถึงในล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ ,2543,หน้า 172-174) เขามีความคิดว่า พัฒนาการทางจริยธรรมขึ้นอยู่กับความฉลาด หรือการพัฒนาทางสติปัญญา พีอาเจท์เสนอแนวคิดการพัฒนาการทางจริยธรรมเป็น 2 ระยะ คือ
1. ระยะเด็กยึดหลักจริยธรรมจากผู้อื่น ระยะนี้เป็นช่วงเด็กมีอายุก่อน 8 ปี โดยประมาณ เด็กชอบแสดงลักษณะเอาตนเป็นศูนย์กลาง เด็กจะยึดกฎเกณฑ์ตายตัวผิดเป็นผิด หรือถ้าผิดต้องได้รับโทษโดยไม่คำนึงถึงสาเหตุอื่น จริยธรรมของเด็กช่วงนี้เป็นการแสดงความเคารพเชื่อฟังพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ
2. ระยะเด็กยึดหลักจริยธรรมของตนเองเป็นระยะเด็กที่มีอายุ 9 – 12 ปี วัยนี้เด็กมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน การตัดสินทางจริยธรรมของเด็กมีความคิดเป็นของตนเองมีความยืดหยุ่น มีเหตุผลที่คำนึงถึงความยุติธรรมและพิจารณาผลกระทำด้วย
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
Kohlberg (อ้างถึงในล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ,2543,หน้า 174-176) เขาเชื่อว่า การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมมีความสัมพันธ์กับการบรรลุนิติภาวะเชิงจริยธรรมพร้อมกับการพัฒนาด้านอื่นๆด้วย โคลเบิร์ก ได้จัดลำดับขั้นของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมไว้ 6 ขั้น ดังนี้
1. ระดับก่อนจริยธรรม ในระดับนี้บุคคลจะทำความดีหรือความเลวขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของสังคมที่ทำกันมาหรือผู้ใหญ่เป็นผู้กำหนด ในระดับนี้แบ่งย่อยออกเป็น 2 ขั้นคือ
ขั้นที่ 1 เน้นการลงโทษและเชื่อฟัง
ขั้นที่ 2 การเลือกกระทำเพื่อความพอใจของตน
2. ระดับปฏิบัติตามแบบแผนกฎเกณฑ์จริยธรรม ระดับนี้คนจะปฏิบัติตามสิ่งที่คาดหวังไว้ในครอบครัว กลุ่ม หรือประเทศชาติ ในระดับนี้แบ่งย่อยออกเป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 3 หลักจริยธรรมเด็กดีตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ

ที่มา . http://skuikratoke.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น