วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเพณีวันฮารีรายอ

ประเพณีวันฮารีรายอ
ที่มา  http://learners.in.th/blog/daiary-sah/417413

   เจ้าของบทความ
พีซ๊ะ อะลีหะ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

      ประเพณีฮารีรายอ เทศกาลฮารีรายอมีอยู่สองวันคือ ๑.วันฮารีรายอหรือวันตรุษอิดิ้ลฟิตริ 

เป็นวันรื่นเริงเนื่องจากสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เป็นการกลับเข้าสู่สภาพเดิม
ตรงกับวันที่หนึ่งของเดือนเซาวาล ซึ่งเป็นเดือนที่สิบทางจันทรคติ 

      การปฎิบัติของชาวอิสลามในวันรายอจะบริจาคทานเรียกว่า ซากัดฟิตเราะห์ 
(การบริจาคข้าวสาร) มีการบริจาคทานแก่คนแก่หรือคนยากจน บางทีจึงเรียกว่า 
วันรายอฟิตเราะห์ หลังจากนั้นจะไปละมาดที่มัสยิด จากนั้นจะมีการขอขมาจากเพื่อน 
มีการเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องที่อยู่ใกล้และไกลออกไป มีการเลี้ยงอาหารด้วย 
      ๒. วันฮารีรายอหัวญี หรือวันรายออิฎิลอัฎฮา  คำว่า อัฎฮา แปลว่า การเชือดพลี 
เป็นการเชือดสัตว์เพื่อเป็นอาหารแก่ประชาชนและคนยากจน อิดัลอัดฮา จึงหมายถึง
วันรื่นเริงเนื่องในวันเชือดสัตว์พลี ตรงกับวันที่สิบของเดือนซุลฮจญะ เป็นเวลาเดียวกับ
การประกอบพิธีหัจญ์ ที่เมืองเมกกะของชาวอิสลามทั่วโลก ชาวไทยอิสลามจึงนิยมเรียก
วันตรุษนี้ว่า วันอีดใหญ่  การปฎิบัติจะมีการละหมาดร่วมกันและเชือดสัตว์เช่น วัว แพะ แกะ
แล้วแจกจ่ายเนื้อสัตว์เหล่านั้นแก่คนยากจนการเชือดสัตว์พลีนี้เรียกว่า กรุบาน 
            การปฎิบัติตนในวันนี้ คือ 
                ๑. อาบน้ำสุหนัด ทั้งชายและหญิง และเด็กที่สามารถไปละหมาดได้ เวลาดีที่

สุดคือหลังจากแสงอรุณขึ้นของวัน ฮารีรายอ 
                ๒. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดสวยงาม 
                ๓. บริจาคซะกาดฟิตเราะห์ก่อนละหมาด อิฎิลฟิตรี 
                ๔. ให้ทุกคนไปละหมาดรวมกันกลางแจ้งหรือที่มัสยิด และฟังการบรรยายธรรม

หลังละหมาด 
                ๕. การกล่าวสรรเสริญ อัลเลาะห์ 
                ๖. ทำกรุบาน ถ้ามีความสามารถด้านการเงิน 
                ๗. เยี่ยมเยียน พ่อแม่ ญาติ และครูอาจารย์ เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับ

ขออภัยซึ่งกันและกันในความผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว 
                - เมาลิดเป็นภาษาอาหรับแปลว่า ที่เกิดหรือวันเกิด หมายถึงวันเกิดของนบีมูฮัมมัด 
ตรงกับวันที่ ๑๒ เดือนรอบีอุลอาวาล หรือเดือนที่ ๓ ตามปฎิทินอาหรับ วันเมาลิดยังเป็นวันรำลึก
ถึงวันที่ท่านลี้ภัยจากเมืองเมกกะไปยังเมืองมาดีนะห์ และเป็นวันมรณกรรมของท่านด้วย 
            กิจกรรมต่าง ๆ ในวันเมาลิดได้แก่ การเชิญคัมภีร์อัล-กุรอ่าน การแสดงปาฐกถาธรรม 
การแสดงนิทรรศการ ฯลฯและการเลี้ยงอาหาร 
                -   อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่สิบของเดือนมุฮัวรอม ซึ่งเป็นเดือนทาง
ศักราชอิสลาม 
            ในสมัยนบีนุฮ ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ยังเป็นความเสียหายแก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชน

ทั่วไป ทำให้เกิดขาดอาหาร นบีนุฮ จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะกินได้ให้เอามากอง
รวมกัน นบีนุฮ ให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน สาวกของท่านก็ได้กินอาหารโดยทั่วกัน
และเหมือนกัน 
            ในสมัยนบีมูฮัมมัด (ศ็อล) เหตุการณ์ทำนองนี้ได้เกิดขึ้น ขณะที่กองทหารของท่าน
กลับจากการรบที่บาดัง ปรากฎว่าทหารมีอหารไม่พอกิน ท่านจึงใช้วิธีการของนบีนุฮ โดยให้
ทุกคนเอาข้าวของที่กินได้มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันกินในหมู่ทหาร 
            เครื่องปรุงสำคัญประกอบด้วย เครื่องแกงมี ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผักชี ยี่หร่า 
ข้าวสาร เกลือ น้ำตาล กะทิ กล้วย หรือผลไม้อื่น ๆ เนื้อ ไข่ 
            วิธีกวน  ตำหรือบดเครื่องแกงแย่างหยาบ ๆ เทส่วนผสมต่าง ๆ ลงในกระทะใบใหญ่ 
เมื่ออาหารสุกเป็นเนื้อเดียวกันแล้วจึงตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยไข่เจียวบาง ๆ หรืออาจเป็นหน้ากุ้ง
เนื้อสมัน ปลาสมัน ผักชี หอมหั่น พอเย็นแล้วก็ตัด
เป็นชิ้น ๆ คล้ายขนมเปียกปูน 
                - การพูด จา ชาวไทยมุสลิมโดยทั่ไปจะกล่าวคำ บิสุมิลลาฮ ฮิรเราะหมานิรเรวะฮีม 

มีความหมายว่า ด้วยนามของอัลเลาะห์ผู้กรุณาปราณี ผู้เมตตาเสมอ เมื่อเริ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ 
เช่น กิน นั่ง นอน อาบน้ำ สวมเสื้อผ้า ฆ่าสัตว์เป็นอาหาร เขียน อ่านหนังสือ ฯลฯ ทำให้มีความ
ผูกพันแน่นแฟ้นกับท่าน ทำให้ทุกกิจกรรมของชาวอิสลามทำไปด้วยนามของท่าน และเมื่อ
บรรลุหรือเสร็จกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กินอาหารเสร็จ เดินทางไปถึงที่หมาย ทำงานบรรลุเป้าหมาย 
ก็จะกล่าว อัลหัมดุลิลลาฮ มีความหมายว่าการสรรเสริญเป็นสิทธิขออัลเลาะห์แต่ผู้เดียว 
                - การแสดงความเคารพ  ชาวไทยอิสลามเมื่อพบปะหรือกันจะกล่าว สะลาม 
หรือทักทายกันด้วยคำว่า อัสสะลามอะลัยกุม มีความมายว่า ขอความสันติสุขจงมีแต่ท่าน 
ผู้รับจะรับว่า วะอะลัยกุมุสสะลาม หมายความว่า ขอความสันติสุขจงมีแก่ท่านเช่นกัน 
                - การปฎิบัติเกี่ยวกับการกล่าว สะลาม มีหลายประการ คือ 
                      ๑. การสะลามและการจับมือด้วย ซึ่งกระทำได้ระหว่างชายกับชาย 

และหญิงกับหญิง สำหรับชายกับหญิงทำได้เฉพาะผู้ที่อยู่ในฐานะที่แต่งงานกันไม่ได้เท่านั้น เช่น 
พ่อกับลูก พี่กับน้อง หากชายหญิงนั้นอยู่ในฐานะที่จะแต่งงานกันได้เป็นสิ่งต้องห้าม 
                      ๒. ผู้ที่อายุน้อยกว่าควรให้สะลามผู้ที่อายุมากกว่า 
                      ๓. เมื่อจะเข้าบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้านของตนเองหรือผู้อื่น สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ 

การกล่าวสะลาม ให้แก่ ผู้ที่อยู่ในบ้านทราบก่อน หากกล่าวครั้งแรกยังไม่มีผู้รับสะลาม 
ก็ให้กล่าวอีกสองครั้ง ถ้ายังไม่มีผู้กล่าวรับก็ให้เข้าใจว่า เจ้าของบ้านไม่อยู่หรือไม่พร้อมที่จะ
รับแขกก็ให้กลับไปก่อน แล้วค่อยมาใหม่ 
                      ๔. จะต้องมีการกล่าวสะลามก่อนที่จะมีการสนทนาปราศรัย 
                      ๕. เมื่อมีผู้ให้สะลาม ผู้ฟังหรือผู้ที่ได้ยินต้อง (บังคับ) กล่าวรับสะลาม 

ถ้าอยู่หลายคนก็ให้คนใดคนหนึ่งกล่าวรับถือเป็นการใช้ได้ ถ้าไม่มีผู้ใดรับสะลามเลยจะเป็นบาป
แก่ผู้นั้น 
                - การกินอาหาร  มีบัญญัติเรื่องอาหารในอัลกุรอาน โดยให้บริโภคจากสิ่งที่อนุมัติ
และสิ่งที่ดี ไม่บริโภคอย่างสุรุ่ยสุร่าย และสิ่งที่ก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกาย สติปัญญา อาหารที่
ไม่อนุมัติเช่นเนื้อหมู เลือดสัตว์ที่ตายแล้ว สัตว์ที่เชือดโดยเปล่งนามอื่นนอกจากอัลเลาห์ 
สัตว์ที่เชือดเพื่อบูชายัญ ส่วนสัตว์ที่ตายเองต้องมีสาเหตุดังนี้ คือสัตว์ที่ถูกรัด สัตว์ที่ถูกตี 
สัตว์ที่ตกจากที่สูง และสัตว์ที่ถูกสัตว์ป่ากิน 
        สัตว์ที่ตายเองในห้าลักษณะดังกล่าวหากเชือดทันก็สามารถบริโภคได้ 
อาหารที่จัดอยู่ในพวกเครื่องดื่มมึนเมา และสิ่งอื่นใดก็ตาม ที่อยู่ในข่ายก่อให้เกิดโทษ
มากกว่าเกิดประโยชน์ ก็ไม่เป็นที่อนุมัติเช่นกัน เช่นเหล้า ยาเสพติดทุกประภท ฯลฯ


กลอนวันแม่
ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ 2555
12 สิงหาของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติไทย


ความหมายของคำว่า "แม่"
     คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
     แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
     1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความ
ยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
        - หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
        - คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
        - คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
     รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
     2. ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
     3. ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
        - เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
        - ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
     นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก 
โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรก
ที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ เม๋เปะ
ภาษาไทใต้คง เม เป็นต้น 
วันแม่แห่งชาติ รักใดเล่ารักแน่เท่าแม่รัก
พระคุณแม่ยิ่งใหญ่หาใดเทียบมิอาจเปรียบแม้ภูผาชลาสินธุ์
น้ำนมที่กลั่นให้ลูกได้ดื่มกินลูกถวิลถึงคุณค่าว่าอนันต์
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
            ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ 
แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี พ.ศ.2457 
โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ
และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่
ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว 
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย 
     วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข 
แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้
พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง
 ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา
 เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
     ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้
เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย 
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้
สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่
     การที่ใช้ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไป
ไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติ
เหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มี
ที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ
วันแม่แห่งชาติ ใช้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์
ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่
ดอกมะลิดอกไม้ประจำวันแม่
ชื่อ :
มะลิ มะลิลา มะลิหลวง มะลิซ้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อพฤกษศาสตร์ :
Jusminum adenophyllum.
วงศ์ :
OLEACEAE
ลักษณะทั่วไป :
เป็น พรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ 
ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้าน
ต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก 
ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกเป็นดอกเดี่ยว 
ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ 
ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ :
เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดิน
ร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา :
มะลินอกจากจะมีกลิ่นหอมไว้ดมแล้ว มะลิดอกแห้งใช้ปรุงเครื่องยาหอม
ใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี



ดอกมะลิสัญลักษณ์ประจำวันแม่


มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก กรุ่นกลิ่น “รัก” บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ เป็นมาลัย “กราบแม่” พร้อมน้อมบูชา
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน 
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง  
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

*คำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา