ประเพณีวันฮารีรายอ ที่มา http://learners.in.th/blog/daiary-sah/417413
เจ้าของบทความ
พีซ๊ะ อะลีหะ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ประเพณีฮารีรายอ เทศกาลฮารีรายอมีอยู่สองวันคือ ๑.วันฮารีรายอหรือวันตรุษอิดิ้ลฟิตริ
เป็นวันรื่นเริงเนื่องจากสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เป็นการกลับเข้าสู่สภาพเดิม
ตรงกับวันที่หนึ่งของเดือนเซาวาล ซึ่งเป็นเดือนที่สิบทางจันทรคติ
การปฎิบัติของชาวอิสลามในวันรายอจะบริจาคทานเรียกว่า ซากัดฟิตเราะห์
(การบริจาคข้าวสาร) มีการบริจาคทานแก่คนแก่หรือคนยากจน บางทีจึงเรียกว่า
วันรายอฟิตเราะห์ หลังจากนั้นจะไปละมาดที่มัสยิด จากนั้นจะมีการขอขมาจากเพื่อน
มีการเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องที่อยู่ใกล้และไกลออกไป มีการเลี้ยงอาหารด้วย
๒. วันฮารีรายอหัวญี หรือวันรายออิฎิลอัฎฮา คำว่า อัฎฮา แปลว่า การเชือดพลี
เป็นการเชือดสัตว์เพื่อเป็นอาหารแก่ประชาชนและคนยากจน อิดัลอัดฮา จึงหมายถึง
วันรื่นเริงเนื่องในวันเชือดสัตว์พลี ตรงกับวันที่สิบของเดือนซุลฮจญะ เป็นเวลาเดียวกับ
การประกอบพิธีหัจญ์ ที่เมืองเมกกะของชาวอิสลามทั่วโลก ชาวไทยอิสลามจึงนิยมเรียก
วันตรุษนี้ว่า วันอีดใหญ่ การปฎิบัติจะมีการละหมาดร่วมกันและเชือดสัตว์เช่น วัว แพะ แกะ
แล้วแจกจ่ายเนื้อสัตว์เหล่านั้นแก่คนยากจนการเชือดสัตว์พลีนี้เรียกว่า กรุบาน
การปฎิบัติตนในวันนี้ คือ ๑. อาบน้ำสุหนัด ทั้งชายและหญิง และเด็กที่สามารถไปละหมาดได้ เวลาดีที่
สุดคือหลังจากแสงอรุณขึ้นของวัน ฮารีรายอ
๒. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดสวยงาม ๓. บริจาคซะกาดฟิตเราะห์ก่อนละหมาด อิฎิลฟิตรี ๔. ให้ทุกคนไปละหมาดรวมกันกลางแจ้งหรือที่มัสยิด และฟังการบรรยายธรรม
หลังละหมาด ๕. การกล่าวสรรเสริญ อัลเลาะห์ ๖. ทำกรุบาน ถ้ามีความสามารถด้านการเงิน ๗. เยี่ยมเยียน พ่อแม่ ญาติ และครูอาจารย์ เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับ
ขออภัยซึ่งกันและกันในความผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
- เมาลิดเป็นภาษาอาหรับแปลว่า ที่เกิดหรือวันเกิด หมายถึงวันเกิดของนบีมูฮัมมัด
ตรงกับวันที่ ๑๒ เดือนรอบีอุลอาวาล หรือเดือนที่ ๓ ตามปฎิทินอาหรับ วันเมาลิดยังเป็นวันรำลึก
ถึงวันที่ท่านลี้ภัยจากเมืองเมกกะไปยังเมืองมาดีนะห์ และเป็นวันมรณกรรมของท่านด้วย
กิจกรรมต่าง ๆ ในวันเมาลิดได้แก่ การเชิญคัมภีร์อัล-กุรอ่าน การแสดงปาฐกถาธรรม
การแสดงนิทรรศการ ฯลฯและการเลี้ยงอาหาร
- อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่สิบของเดือนมุฮัวรอม ซึ่งเป็นเดือนทาง
ศักราชอิสลาม ในสมัยนบีนุฮ ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ยังเป็นความเสียหายแก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชน
ทั่วไป ทำให้เกิดขาดอาหาร นบีนุฮ จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะกินได้ให้เอามากอง
รวมกัน นบีนุฮ ให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน สาวกของท่านก็ได้กินอาหารโดยทั่วกัน
และเหมือนกัน
ในสมัยนบีมูฮัมมัด (ศ็อล) เหตุการณ์ทำนองนี้ได้เกิดขึ้น ขณะที่กองทหารของท่าน
กลับจากการรบที่บาดัง ปรากฎว่าทหารมีอหารไม่พอกิน ท่านจึงใช้วิธีการของนบีนุฮ โดยให้
ทุกคนเอาข้าวของที่กินได้มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันกินในหมู่ทหาร
เครื่องปรุงสำคัญประกอบด้วย เครื่องแกงมี ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผักชี ยี่หร่า
ข้าวสาร เกลือ น้ำตาล กะทิ กล้วย หรือผลไม้อื่น ๆ เนื้อ ไข่
วิธีกวน ตำหรือบดเครื่องแกงแย่างหยาบ ๆ เทส่วนผสมต่าง ๆ ลงในกระทะใบใหญ่
เมื่ออาหารสุกเป็นเนื้อเดียวกันแล้วจึงตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยไข่เจียวบาง ๆ หรืออาจเป็นหน้ากุ้ง
เนื้อสมัน ปลาสมัน ผักชี หอมหั่น พอเย็นแล้วก็ตัด
เป็นชิ้น ๆ คล้ายขนมเปียกปูน - การพูด จา ชาวไทยมุสลิมโดยทั่ไปจะกล่าวคำ บิสุมิลลาฮ ฮิรเราะหมานิรเรวะฮีม
มีความหมายว่า ด้วยนามของอัลเลาะห์ผู้กรุณาปราณี ผู้เมตตาเสมอ เมื่อเริ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ
เช่น กิน นั่ง นอน อาบน้ำ สวมเสื้อผ้า ฆ่าสัตว์เป็นอาหาร เขียน อ่านหนังสือ ฯลฯ ทำให้มีความ
ผูกพันแน่นแฟ้นกับท่าน ทำให้ทุกกิจกรรมของชาวอิสลามทำไปด้วยนามของท่าน และเมื่อ
บรรลุหรือเสร็จกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กินอาหารเสร็จ เดินทางไปถึงที่หมาย ทำงานบรรลุเป้าหมาย
ก็จะกล่าว อัลหัมดุลิลลาฮ มีความหมายว่าการสรรเสริญเป็นสิทธิขออัลเลาะห์แต่ผู้เดียว
- การแสดงความเคารพ ชาวไทยอิสลามเมื่อพบปะหรือกันจะกล่าว สะลาม
หรือทักทายกันด้วยคำว่า อัสสะลามอะลัยกุม มีความมายว่า ขอความสันติสุขจงมีแต่ท่าน
ผู้รับจะรับว่า วะอะลัยกุมุสสะลาม หมายความว่า ขอความสันติสุขจงมีแก่ท่านเช่นกัน
- การปฎิบัติเกี่ยวกับการกล่าว สะลาม มีหลายประการ คือ ๑. การสะลามและการจับมือด้วย ซึ่งกระทำได้ระหว่างชายกับชาย
และหญิงกับหญิง สำหรับชายกับหญิงทำได้เฉพาะผู้ที่อยู่ในฐานะที่แต่งงานกันไม่ได้เท่านั้น เช่น
พ่อกับลูก พี่กับน้อง หากชายหญิงนั้นอยู่ในฐานะที่จะแต่งงานกันได้เป็นสิ่งต้องห้าม
๒. ผู้ที่อายุน้อยกว่าควรให้สะลามผู้ที่อายุมากกว่า ๓. เมื่อจะเข้าบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้านของตนเองหรือผู้อื่น สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ
การกล่าวสะลาม ให้แก่ ผู้ที่อยู่ในบ้านทราบก่อน หากกล่าวครั้งแรกยังไม่มีผู้รับสะลาม
ก็ให้กล่าวอีกสองครั้ง ถ้ายังไม่มีผู้กล่าวรับก็ให้เข้าใจว่า เจ้าของบ้านไม่อยู่หรือไม่พร้อมที่จะ
รับแขกก็ให้กลับไปก่อน แล้วค่อยมาใหม่
๔. จะต้องมีการกล่าวสะลามก่อนที่จะมีการสนทนาปราศรัย ๕. เมื่อมีผู้ให้สะลาม ผู้ฟังหรือผู้ที่ได้ยินต้อง (บังคับ) กล่าวรับสะลาม
ถ้าอยู่หลายคนก็ให้คนใดคนหนึ่งกล่าวรับถือเป็นการใช้ได้ ถ้าไม่มีผู้ใดรับสะลามเลยจะเป็นบาป
แก่ผู้นั้น
- การกินอาหาร มีบัญญัติเรื่องอาหารในอัลกุรอาน โดยให้บริโภคจากสิ่งที่อนุมัติ
และสิ่งที่ดี ไม่บริโภคอย่างสุรุ่ยสุร่าย และสิ่งที่ก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกาย สติปัญญา อาหารที่
ไม่อนุมัติเช่นเนื้อหมู เลือดสัตว์ที่ตายแล้ว สัตว์ที่เชือดโดยเปล่งนามอื่นนอกจากอัลเลาห์
สัตว์ที่เชือดเพื่อบูชายัญ ส่วนสัตว์ที่ตายเองต้องมีสาเหตุดังนี้ คือสัตว์ที่ถูกรัด สัตว์ที่ถูกตี
สัตว์ที่ตกจากที่สูง และสัตว์ที่ถูกสัตว์ป่ากิน
สัตว์ที่ตายเองในห้าลักษณะดังกล่าวหากเชือดทันก็สามารถบริโภคได้
อาหารที่จัดอยู่ในพวกเครื่องดื่มมึนเมา และสิ่งอื่นใดก็ตาม ที่อยู่ในข่ายก่อให้เกิดโทษ
มากกว่าเกิดประโยชน์ ก็ไม่เป็นที่อนุมัติเช่นกัน เช่นเหล้า ยาเสพติดทุกประภท ฯลฯ
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น